ป.โทบริหาร IT

หลักสูตรบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ 
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตบริหารศาสตร์

บทความทั่วไป

หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกที่เหมือนไม่โหดแต่โหดของนิด้ามาแล้ว  ในที่สุดเราก็ได้เป็น “นักศึกษาปริญญาโท คณะสถิติประยุกต์ สาขาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITM) ของนิด้า” แล้ว เย้!!! (จะเย้…อะไร เพิ่งเริ่มต้น) ถึงขึ้นตอนหลักอีกขั้น เป็นขั้นตอนที่ใช้สตางค์ ดังนั้นเราต้องมีสติด้วยค่ะ เพราะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับนักศึกษา ป. โท

“เป้าหมายของคนทำงานทุกคนที่อยากจะไปให้ถึง”
คือการประสบความสำเร็จในสายงานที่ตนเองสนใจ มีความสามารถและมีความถนัดในเรื่องนั้น ยิ่งถ้ามีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ มากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสจะประสบความสำเร็จได้มากขึ้น ถ้าในสายงานของฉันเอง คงหนีไม่พ้นเรื่อง คอมพิวเตอร์ และบริหาร

สร้างเสริมความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะการอ่าน เช่น การศึกษาประเภทของประโยค การหาแกนหลักและส่วนขยายของประโยค เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความวิชาการ โดยเน้นการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อหาข้อสรุป

หลักสูตร ป.โท บริหาร IT
Big Data Analytics
and Data Mining

การทำเหมืองข้อมูล วิธีการและอัลกอริธึมต่าง ๆ สำหรับการประมาณ และการทำนายเชิงสถิติ การวิเคราะห์หลักเกณฑ์การรวมตัวและกระประยุกต์ใช้งานจริง

Project Management

การบริหารโครงการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานจะประสบความสำเร็จ และช่วยให้คุณและลูกทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Information Systems Analysis and Design

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้รวบรวมความต้องการของระบบ ตัวแบบฐานข้อมูล ตัวแบบกระบวนการ วิธีพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยแนวคิดแบบใหม่

Digital Marketing

การตลาดดิจิทัลและการตลาดออนไลน์ การตลาดกลไกสืบค้น เปย์เปอร์คลิก การตลาดโดยการอาศัยการแสดงผล อีเมล สื่อสังคม อุปกรณ์เคลื่อนที่ การวิเคราะห์ การวางแผน และกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล

Innovation Management

การบริหารโครงการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานจะประสบความสำเร็จ และช่วยให้คุณและลูกทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Information Security

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้รวบรวมความต้องการของระบบ ตัวแบบฐานข้อมูล ตัวแบบกระบวนการ วิธีพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยแนวคิดแบบใหม่

ความเป็นมาของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 ข้อมูลของหลักสูตร รวมทั้งการปรับปรุงหลักสูตร (Program Development) สรุปได้ดังนี้

ข้อมูลสรุปของหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ)
ปีทีเปิดสอนครั้งแรก 2552
ปีที่ปรับปรุงหลักสูตร 2555 (เกณฑ์มาตรฐานสกอ)
2559 (สกอ, The 1st and 2nd version of ELO)
2560 (สกอ, The 3rd version of ELO)
2565 (สกอ, The 4th version of ELO)
2567 (The 5th version of ELO: อยู่ระหว่างการดำเนินการ)
รูปแบบการเรียน ภาคปกติ (จ-ศ) และภาคพิเศษ (ส-อา)
แผนการเรียน แผน ก 39 หน่วยกิต ศึกษารายวิชา 27 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข 39 หน่วยกิต ศึกษารายวิชา 36 หน่วยกิต วิชาค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
หลักสูตรได้มีการปรับปรุงใหญ่อีกสามครั้งคือในปี 2555 2559 2560 และ 2565 โดยในปี 2559 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตร ข้อกำหนดของหลักสูตร (Program Specification) และความทันสมัยของเนื้อหารายวิชา รวมทั้งการปรับปรุง ELO ที่เน้นการจัดการศึกษาด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศที่มุ่งสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลง และวิวัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีการผสมผสานแนวคิดด้านการจัดการธุรกิจองค์กร ส่วนการปรับปรุงในปี 2560 เน้นการสร้างมหาบัณฑิตที่มี 6 คุณลักษณะสำคัญเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย “TALENT” (Team Leadership, Applying IT, Lifelong Learning, Executing strategic with IT, Need Assessment, and, Technical Research Skill) โดยได้มีการปรับปรุง Program Specification เนื้อหารายวิชา และ ELO ให้สามารถสะท้อนคุณลักษณะที่สำคัญดังกล่าว นอกจากนั้นหลักสูตรยังเน้นในเรื่องของการเพิ่มพูนศักยภาพให้แก่ผู้เรียนในระดับมาตรฐานสากล ได้ปรับเนื้อหาในรายวิชาของหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถรองรับเนื้อหาในการสอบ Global Certifications รวมทั้งจัดหาทุนสนับสนุนการสอบเพื่อให้ได้ใบรับรองความรู้ที่เป็นมาตรฐานสากลให้นักศึกษา สำหรับการปรับปรุงในปี 2560 เป็นการปรับตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF: HEd)

ปรัชญาหลักสูตร

การจัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มุ่งสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี มุ่งเน้นบนหลักสี่ประการดังนี้:

(1) ความรู้สหวิทยาการ (multidisciplinary knowledge) ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการธุรกิจ โดยการผสมผสานแนวคิดด้านการจัดการธุรกิจองค์กร เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรให้ทันกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี มีบทบาทในการเป็นผู้นำที่มีพร้อมทั้งความรู้ คุณธรรม จริยธรรม มีทัศนคติ แรงจูงใจที่จะใฝ่รู้ ในลักษณะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะความรู้ในการสร้างงานวิจัยทางด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ มีทักษะเฉพาะทางของนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศที่บูรณาการความรู้ความสามารถในการบริหารการพัฒนาเข้ากับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย รวมทั้งมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม
(2) ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT certified professional) หลักสูตรมุ่งเน้นการเตรียมให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในอาชีพ และสามารถก้าวหน้าในสายอาชีพด้วยการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล (global certifications)
(3) การศึกษาเชิงประสบการณ์ (experiential education) แนวการสอนหลักของหลักสูตรเน้นที่คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ และการเรียนรู้แบบโครงงาน (project-based) ที่เน้นปฏิบัติจริงและการเรียนรู้แบบผสมผสาน
(4) การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นสร้างและรักษาความสัมพันธ์ (meaningful connections) ด้วยการพัฒนาความสัมพันธ์อันเป็นแกนหลักของปรัชญาการสอน หลักสูตรสนับสนุนให้นักศึกษาเห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมทางสังคมและการสร้างและการรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมรุ่น ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง ศิษย์เก่า คณาจารย์ สถาบัน และสังคมโดยรวม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes: ELOs) ของหลักสูตร ประกอบด้วย

ELO1: Team Leadership Exhibit skills in communication, leadership, and problem solving in a team environment.
ELO2: Technical Research Skill Demonstrate competent research skills, and ability to use the research techniques required in the IT industries.
ELO3: Lifelong Learning Participate in lifelong learning, and keep up-to-date with knowledge of emerging technologies.
ELO4: Applying IT Apply effective and ethical utilization of IT know-how and technical tools in practical organizational situations.
ELO5: Need Assessment Analyze and evaluate problems and develop appropriate IT solutions for an organization.
ELO6: Executing strategic with IT Design and implement IT strategic and tactical plans that integrate and apply all the core areas of IT and business management.

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้ง 6 ประการ มุ่งไปสู่เป้าหมาย “TALENT” ที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดที่พึงยึดถือในการผลิตมหาบัณฑิตผู้ทรงความรู้ที่มีทักษะและความสามารถพิเศษ ตามปรัชญาและปณิธานของหลักสูตร

ความสอดคล้องของ ELO หลักสูตรกับของคณะและสถาบัน รวมทั้งความสอดคล้องกับความสอดคล้องกับเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่เป็นหน่วยงานกำกับ ควบคุม และประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา

คุณสมบัติของผู้สมัคร

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ไม่จำกัดสาขา) หรือ เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานการศึกษาจากหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแล สำหรับผู้สมัครภาคพิเศษ ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 1 ปี

สถานที่จัดการเรียนการสอน

การเรียนการสอนจัดในสถานที่ของสถาบัน (บางกะปิ)

เวลาเรียนสำหรับภาคปกติ เรียนจันทร์–ศุกร์ เวลา 09:00–16:00 น.

เวลาเรียนสำหรับภาคพิเศษ เรียนเสาร์และอาทิตย์ เวลา 09:00–16:00 น. อาจมีการจัดเรียนแบบออนไลน์บางคาบหากเป็นการสอนเสริมหรือสอนชดเชย

การจัดการศึกษา และระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรประมาณ 2 ปี แต่ละปีจะแบ่งเป็น 3 ภาคการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1: สิงหาคม – ธันวาคม

ภาคการศึกษาที่ 2: มกราคม – พฤษภาคม

ภาคการศึกษาที่ 3 (ฤดูร้อน): มิถุนายน – กรกฎาคม

การศึกษาในภาคการศึกษา 1 และ 2 มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนการศึกษาภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

ประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

โบรชัวร์

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา แผน ก2 ทําวิทยานิพนธ์ ไม่นับหน่วยกิต แผน ข. ไม่ทําวิทยานิพนธ์ ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 18 หน่วยกิต 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก (อย่างน้อย) 3 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ สอบ สอบ
สอบปากเปล่า สอบ
หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต 39 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิด ทั้งสองแผนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิด

เนื้อหารายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา 3(3 – 0 – 6)
ND 4000 Foundation for Graduate Studies
รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความรู้ทางด้านการเมืองและการปกครองไทย เศรษฐกิจไทย ธุรกิจไทย สังคมไทย จริยธรรมของนักบริหาร จริยธรรมทางวิชาการ การพัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การเขียนรายงานทางวิชาการ และเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา
This course is aimed at enhancing students’ an overview of Thai government, Thai economy, Thai business, Thai society; codes of ethics for executives and academics; personality development; physical and mental health; the Constitution of the Kingdom of Thailand; Thai for communication; academic report writing; and sufficiency economy and development.

ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3(3 – 0 – 6)
LC 4001 Reading Skills Development in English for Graduate Studies
รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะการอ่าน เช่น การศึกษาประเภทของประโยค การหาแกนหลักและส่วนขยายของประโยค เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความวิชาการ โดยเน้นการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อหาข้อสรุป การตีความประโยค การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท การอ่านแบบข้ามเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ การหาความสัมพันธ์ของประโยคและย่อหน้าในงานเขียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์
This course is aimed at enhancing students’ understanding of English structure such as sentence types, core parts, headwords and modifiers. This will enable students to develop their English reading skills necessary for academic texts and research papers. Emphasis is placed on developing students’ skills in reading for main ideas, drawing conclusions and making inferences, using context clues to arrive at the meanings of unknown words, skimming and scanning, and developing their discourse competence, including critical reading skills.

ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3(3 – 0 – 6)
LC 4002 Integrated English Language Skills Development
รายวิชานี้เน้นเนื้อหาและกิจกรรมเน้นการบูรณาการทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนเชิงวิชาการเบื้องต้น
The course is intended to provide course contents and teaching activities focus on the integrated skills of listening, speaking, reading and writing with a particular emphasis on academic writing at the introductory level.

ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3(3 – 0 – 6)
LC 4011 Remedial Reading Skills Development in English for Graduate Studies
รายวิชานี้เน้นฝึกทักษะและกลยุทธ์การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่นักศึกษาได้ศึกษามาก่อนแล้วในวิชา ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาเพิ่มเติม ทั้งนี้ นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนในลักษณะเฉพาะบุคคลมากขึ้น
The course is intended to provide additional practices in the reading skills and strategies covered in LC 4001 Students receive individualized attention to enhance their reading skills for academic purposes.

ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3(3 – 0 – 6)
LC 4012 Remedial Integrated English Language Skills Development
รายวิชานี้เน้นการฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าว สำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยการสอนและฝึกในลักษณะเฉพาะบุคคล
This course is intended to provide additional practice in the four skills—listening, speaking, reading and writing strategies covered in ITM 4002. Students receive individualized attention to enhance their communication skills in English.

บทส 4003 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจและการนำเสนอทางธุรกิจ 3(2 – 2 – 5)
ITM 4003 English for Business Communications and Presentations
รายวิชานี้เป็นการบูรณาการความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ ซึ่งรวมทั้งการฟัง การพูดและการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาทักษะและความสามารถในการเขียนรายงานและเอกสารติดต่อ การนำเสนอรายงานและผลงาน และการดำเนินการประชุมผู้บริหารและเจรจาทางธุรกิจ
This course emphasizes the Integration of knowledge and skills development in English for business communications and presentations. Learning activities provide participants opportunities to practice listening, speaking, and writing. The activities also help participants to develop their skill in writing documents and business reports, presentation and running effective meeting.

บทส 4010 การจัดการระบบฐานข้อมูลและการพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจ 3(3 – 0 – 6)
ITM4010 Database Management Systems and Business Applications Development
รายวิชานี้เป็นหัวข้อศึกษาประกอบด้วย คุณสมบัติพื้นฐานของฐานข้อมูล องค์ประกอบและหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล เอสคิวแอล การล็อก ภาวะการใช้งานพร้อมกัน การกำหนดบทบาท และสิทธิ์ของผู้ใช้ในระดับต่างๆ การรักษาความปลอดภัยในระบบฐานข้อมูล การประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูล แนวคิดพื้นฐานในการโปรแกรม การพัฒนาเว็บและ/หรือโมบายแอปพลิเคชันด้วยภาษาจาวาหรือไพธอน
This course covers following issues: principles and methodologies of database management systems, SQL, locking, concurrency control, role and privilege of users, database systems security, performance tuning of database system, fundamental programming concepts, web and/or mobile application development using Java/Python.

บทส 5010 เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร และเทคโนโลยีเกิดใหม่: อีอาร์พี คลาวด์ ไอโอที บล็อกเชน และฟินเทค
ITM 5010 Enterprise IT and Emerging Technologies: ERP, Cloud, IoT, Blockchain and Fintech 3(3 – 0 – 6)
รายวิชานี้ศึกษาแนวคิดและวิธีการปฏิบัติอันเป็นเลิศในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร รวมทั้งศึกษาเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร หัวข้อศึกษาประกอบด้วย การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนกลยุทธ์ และปรัชญาขององค์กร แนวคิดพื้นฐานของระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร และความสำคัญของการบูรณาการระบบสารสนเทศในองค์กร บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการขององค์กรและการดำเนินธุรกิจ การบริหารงานบริการ การกำกับดูแล การจัดการความเสี่ยง การปฏิบัติตามข้อกำหนด นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบวางแผนทรัพยากรองค์การ แนวคิดและพื้นฐานการจัดการเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น คลาวด์ ไอโอที บล็อกเชน สกุลเงินดิจิทัล และฟินเทค
This course examines concepts and best practices in enterprise IT management and also explores current and emerging technologies. Topics covered include: the use of information systems in supporting overall strategic initiatives and corporate philosophies, roles of information technology in supporting a wide range of business functions (business/IT alignment), IT services management, IT governance, IT risk management, IT compliance, IT innovation, and fundamentals of enterprise resource planning (ERP) systems concepts, concepts and fundamental of emerging Technologies such as Cloud, IoT, Blockchain, Cryptocurrency, and Fintech.

บทส 5020 การเรียนรู้ของเครื่องและวิธีเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ธุรกิจ 3(3 – 0 – 6)
ITM 5020 Machine Learning and Quantitative Methods for Business Analytics
รายวิชานี้ให้แนวคิดพื้นฐานการจัดการธุรกิจ ทฤษฎีการตัดสินใจและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจโดยอาศัยการเรียนรู้ของเครื่อง และตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาในการจัดการ เนื้อหาครอบคลุมวิทยาการจัดการ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โปรแกรมเชิงเส้น ตัวแบบการขนส่ง ตัวแบบสินค้าคงคลัง ทฤษฎีเกม และการตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน ตัวแบบการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ การเรียนรู้แบบเสริมแรง การเรียนรู้แบบมีผู้สอน และไม่มีผู้สอน แหล่งข้อมูลในองค์กร การใช้ข้อมูลใหญ่ในการวิเคราะห์ธุรกิจ และพื้นฐานการเรียนรู้ของเครื่อง
This course provides an introduction to the concepts of business management and business analytics which involves the application of machine learning and mathematical modeling and analysis to management problems. The course covers the following topics: fundamentals of business management; an overview of management science and quantitative analysis, linear programming, transportation model, Inventory models, game theory, business analytics model, reinforce learning, supervised and unsupervised learning; sources of data in organization, the use of big data to support business analytics and machine learning fundamentals.

บทส 6010 การจัดการข้อมูลระดับองค์กร: การอภิบาลข้อมูล กลยุทธ์ข้อมูล โนซีเควล และการจัดการข้อมูลใหญ่ 3(3 – 0 – 6)
ITM 6010 Enterprise Data Management: Data Governance, Data Strategy, NoSQL and Big Data Management
รายวิชานี้ให้แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับหลักการและประโยชน์ของการอภิบาลข้อมูล การจัดการคลังข้อมูล โนซีเควล และเทคโนโลยีข้อมูลใหญ่ หัวข้อประกอบด้วย การอภิบาลข้อมูล การจัดการคุณภาพข้อมูลในองค์กร กลยุทธ์ข้อมูลระดับองค์กร การสกัด การแปลง และการโหลดข้อมูล (อีทีแอล) การประยุกต์ใช้คลังข้อมูล สถาปัตยกรรมระบบคลังข้อมูล การออกแบบโมเดลเชิงพหุมิติ การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ ประเภทของฐานข้อมูลโนซีเควล แนวคิดการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูลโนซีเควล การออกแบบฐานข้อมูลโนซีเควล คุณลักษณะของข้อมูลใหญ่ ตัวแบบและเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลใหญ่ เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่
This course provides students with important concepts and main benefits of data governance, data warehousing, NoSQL, and big data technologies. The course covers the following topics: data governance; enterprise data quality management; enterprise data strategy; extraction, transformation, and loading (ETL); applications to business intelligence; data warehouse architecture; dimensional modeling techniques; (Online Analytical Processing) OLAP; characteristics of big data; categories of NoSQL databases; NoSQL data-management concepts; NoSQL Database Design; big data storage models and technologies; tools and techniques to analyze big data.
บุพวิชา: บทส 4010 การจัดการระบบฐานข้อมูลและการพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจ หรือได้รับอนุญาตจากผู้สอน
Prerequisite: ITM 4010 Database Management Systems and Business Applications Development or Instructor Consent

บทส 6020 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 3(3 – 0 – 6)
ITM 6020 Computer Networks and Cyber Security
รายวิชานี้ให้แนวคิดโดยทั่วไปของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์: การประมวลผลบนเครือข่าย และคลาวด์คอมพิวติ้ง อินเทอร์เน็ตและตัวแบบทีซีพี/ไอพี การเข้ารหัสลับข้อมูลกับความมั่นคงสารสนเทศ ไฟร์วอลล์ แนวคิดการออกแบบและบริหารจัดการเครือข่าย

อาคารสถานที่
floor_3_2
สิ่งอำนวยความสะดวก

มีเครื่องไม้เครื่องมือและสาธารณูปโภคที่ทันสมัยไว้บริการเพื่อประโยชน์แก่นักศึกษา เช่น ห้องประชุมและห้องเรียนที่ทันสมัย, ห้องคอมพิวเตอร์, สนามกีฬาในร่ม-กลางแจ้ง รวมถึงฟิตเนสอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม

IMG_8839
นิด้า ไลบรารี่

ห้องสมุดที่ได้รับการยอมรับและยกย่องโดยเหล่าศาสตราจารย์ และมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ด้วยการลงทุนด้านอีบุ๊ก(หนังสืออิเล็กทรอนิกส์)กว่า 10 ล้านบาทต่อปี จึงถูกจัดให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์อับดับ 1 ของอาเซียน

13-1024x454 (1)
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

มีอุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัย และสามารถปฏิบัติได้จริง เช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
บนระบบ iOS และ Android

พาร์ทเนอร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

INSTITUTION

118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

(+66) 727 3000
คณะสถิติประยุกต์ (GSAS)

FACULTY

คณะสถิติประยุกต์ อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 12 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 118 ถนนเสรีไทยแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

(+66) 2727 3035-40
ป.โท บริหาร IT (ITM)

BOARD

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ป.โท บริหาร IT)